top of page

GHPs คือ อะไร?


GHPs คือ อะไร?

GHPs ย่อมาจาก Good Hygiene Practices คือ การปฏิบัติสุขลักษณะที่ดี ซึ่งเป็นมาตรการและเงื่อนไขพื้นฐานที่ประยุกต์ใช้ในขั้นตอนใดๆตลอดห่วงโซ่อาหาร เพื่อส่งมอบอาหารที่ปลอดภัยและเหมาะสม เป็นมาตรฐานด้านความปลอดภัยทางอาหารที่ประยุกต์ใช้หลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิตอาหาร หรือ จี เอ็ม พี (GMP, Good Manufacturing Practice) ให้เหมาะสมและสอดคล้องกับกิจกรรมการผลิตอาหาร

การปรับเปลี่ยนสู่ GHPs & HACCP

เนื่องจากมาตรฐาน GMP & HACCP Rev.4 (2003) ได้มีการปรับเปลี่ยนสู่ GHPs & HACCP และสถานะใบรับรองของ GMP&HACCP Rev.4 (2003) ได้หมดอายุลงในวันที่ 5 พฤษภาคม 2565


ในการปรับเปลี่ยนมาตรฐานดังกล่าว แนวทางในการปรับเปลี่ยนประกอบไปด้วย การปรับเปลี่ยนลำดับของข้อกำหนดใหม่ ซึ่ง GHPs จะมีข้อกำหนดเป็น 9 ข้อกำหนด มีการเพิ่มข้อกำหนดใหม่ในบางหัวข้อ มีการเพิ่มอันตรายสำหรับสารก่อภูมิแพ้เข้าไปในมาตรฐาน มีตัวอย่างวิธีการวิเคราะห์อันตรายแบบใหม่ และมีการระบุถึงการสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยทางด้านอาหารเพิ่มขึ้นด้วย


ส่วนที่ 1: บทนำและการควบคุมอันตรายที่มีต่ออาหาร

  • ควบคุมคุณภาพน้ำ (Control of Water Quality)

  • การควบคุมการปนเปื้อนจากสิ่งปฏิกูล (Control of Fecal Contamination)

  • การควบคุมการปฏิบัติงานและสุขลักษณะของผู้ปฏิบัติต่ออาหาร (Control of Food handler Practices and Hygiene)

  • การควบคุมพื้นผิวสัมผัสอาหารโดยการทำความสะอาด (Control of Food Contact Surfaces by Cleaning)


ส่วนที่ 2: การผลิตขั้นต้น (Primary Production)

  • การควบคุมสภาพแวดล้อม ไม่ผลิตใกล้กับสถานประกอบการที่ปล่อยสารพิษ หรือมีกลิ่นไม่พึงประสงค์ซึ่ง ส่งผลให้อาหารปนเปือ้นกลิ่น

  • การผลิตที่มีสขุลกัษณะควบคุมการปนเปือ้นของอาหารเช่นจากยาฆ่าแมลงหรือสิ่งปฏิกูลต่างๆโดยจดัการ ของเสียและจดั เก็บสารเคมีอย่างเหมาะสม

  • การดูแล และจัดเก็บ ควรป้องกันการเสื่อมสภาพ เน่าเสีย โดยควบคุมอุณหภูมิ และความชนื ้ ส่วนการขนส่ง ควรป้องกันการปนเปือ้นต่างๆไม่ว่าจะจากสตัว์พาหะหรือจากสารเคมี

  • การทาความสะอาด และการบารุงรักษาอุปกรณ์ที่ใช้ และดูแลสุขลกัษณะส่วนบุคคล เพื่อป้องกันการ ปนเปือ้นจากสิ่งปฏิกูล

ส่วนที่ 3: สถานประกอบการ : ออกแบบสิ่งอานวยความสะดวก และอุปกรณ์

  • ทำเลที่ตั้งของสถานประกอบการ

- ไม่ควรตั้งในพื้นที่ๆไม่สามารถควบคุมอันตรายจากสิ่งแวดล้อมได้หรือทำเลที่มีอุตสาหกรรมที่จะนำไปสู่การปนเปื้อนในอาหาร

- จัดัพื้นที่การทำงานแต่ละแผนกให้เป็นสัดส่วนป้องกันการปนเปื้อนข้าม

- วัสดุภายในอาคารทนทาน และต้องง่ายต่อการทำความสะอาดหรือฆ่าเชื้อ

- จัดให้มีห้องน้ำและสถานที่ล้างมือตามความเหมาะสม

  • สิ่งอานวยความสะดวก

- จัดให้มีระบบกำจัดของเสียอย่างเพียงพอเพื่อลดโอกาสการปนเปื้อน

- จัดให้มีอุปกรณ์ในการทำความสะอาดที่เพียงพอ

- แยกอ่างสำหรับล้างมือล้างอาหารและเครื่องใช้

- มีการควบคุมอุณหภูมิเพื่อความปลอดภัยและความเหมาะสมสำหรับอาหารประเภทนั้นๆ

- มีการระบายอากาศเพื่อลดการปนเปื้อนจากอากาศและควบคุมกลิ่นไม่พึงประสงค์

- แสงสว่างที่เพียงพอเพื่อตรวจหาข้อบกพร่องของอาหารได้

- การเก็บรักษาหลีกเลี่ยงการเข้าถึงจากสัตว์พาหะนำเชื้อ

  • อุปกรณ์ สะอาด และมีการสอบเทียบเครื่องมืออย่างเหมาะสมเป็นประจำ

ส่วนที่ 4: การฝึกอบรม และความสามารถ

มีการจัดฝึกอบรมบุคลากรเป็นระยะๆ และทวนสอบเป็นประจำ เพื่อความปลอดภัย และความเหมาะสมของอาหาร


ส่วนที่ 5: การบำรุงรักษาสถานประกอบการ การทำความสะอาด และการฆ่า เชื้อและการควบคุมสัตว์พาหะนำเชื้อ

การบำรุงรักษาสถานประกอบการ เพื่อความสะอาด ปราศจากการปนเปื้อนจากสัตว์พาหะนำเชื้อและสารเคมี โดยจัดวิธีการทำความสะอาดให้เหมาะสม พร้อมเฝ้าระวังประสิทธิภาพการปฏิบัติตามขั้นตอนทำความสะอาดและทวนสอบเป็นระยะ


ส่วนที่ 6: สุขลักษณะส่วนบุคคล

  • บุคลากรควรแต่งกายให้เรียบร้อย สวมชุดป้องกัน คลุมศีรษะ สวมรองเท้า และสวมถุงมือไม่สวมใส่เครื่องประดับ ต่างๆ

  • กรณีเจ็บป่วยมีไข้ไอจามมีแผลติดเชื้อที่เห็นชัดเจนหรือมีสารคัดหลั่งออกจากหูตาจมูกให้แจ้งหัวหน้างาน และแยกออกไปยังบริเวณที่ไม่มีการสัมผัสอาหารโดยตรง

  • กรณีผู้เยี่ยมชมโรงงานควรได้รับคำแนะนำเกี่ยวกับนโยบายด้านสุขลักษณะของโรงงานก่อนเข้าเยี่ยมชม

ส่วนที่ 7: การควบคุมการปฏิบตัิงาน

ควบคุมตั้งแต่ต้นกระบวนการ คือ รับวัตถุดิบ ระหว่างกระบวนการ ผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป ตลอดจนเอกสารและข้อมูลที่บันทึกการผลิต


ส่วนที่ 8: ข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และการสร้างความเข้าใจให้ผู้บริโภค

ผู้บริโภคสามารถระบุสารก่อภูมิแพ้ที่มีอยู่ในอาหาร และบ่งชี้รุ่น หรือ ครั้งที่ผลิตได้


ส่วนที่ 9: การขนส่ง ในระหว่างการขนส่ง ควรดำเนินมาตรการตามที่จำเป็นเพื่อ

  • ป้องกันการปนเปื้อนข้าม

  • ป้องกันความเสียหายระหว่างขนส่ง

  • จัดให้มีสภาพแวดล้อมที่ป้องกันการเกิดเชื้อจุลินทรีย์ หรือ อาหารเสื่อมสภาพโดยอาจจะควบคุมอุณหภูมิและ ความชื้น

Credit: BSI Group (The British Standards Institution) https://www.bsigroup.com/th-TH/HACCP-Food-Safety-Risks/

 

บริการให้คำปรึกษา OEM & ODM ฟรี! LINE OA: @oem.krungteptipp https://line.me/R/ti/p/@oem.krungteptipp?from=page วันและเวลาทำการ​ จันทร์-เสาร์ | 08:30 - 17:00 OEM Account Executive โทร. 062-823-9262 #รับผลิตอาหารเสริม #ONESTOPSERVICE #โรงงานผลิตอาหารเสริมที่เป็นมากกว่าผู้ผลิต



Comments


bottom of page